เนื้อหาโครงงาน

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

1. โครงงานเว็บบล็อกเรื่อง การสืบสานเครื่องจักสานไทย (ตะกร้า)
2. ชื่อผู้เสนอโครงงาน
    2.1 นางสาวรัชตินันท์ คงชู เลขที่ 14 ม.6/6
    2.2 นางสาวสุภาวดี ชูลีรักษ์ เลขที่ 15 ม.6/6
    2.3 นางสาวอุดมพร กุมสิงห์ เลขที่ 19 ม.6/6
3. ครูที่ปรึกษาโครงงาน ครูโสภิตา สังฆะโณ และครูเชษฐา เถาวัลย์
4. หลักการและเหตุผล
    เครื่องจักสาน เป็นงานศิลปหัตถกรรมอย่างหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยมนุษย์เพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ผลิตขึ้นโดยการสอด ขัด และสานของวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นริ้ว เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงาม และเพื่อให้เกิดความคงทนของเครื่องจักสาน ปัจจุบันเครื่องจักสานของไทยได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติเป็นอันมาก เนื่องจากเป็นงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่า ผลิตขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมืออันประณีตของคนไทย และมีการออกแบบที่ทันสมัย ประกอบกับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติซึ่งมีความงดงามตามธรรมชาติอยู่แล้ว กระด้งเป็นเครื่องมือจักสานชนิดหนึ่งที่ทำจากไม้ไผ่ โดยการทำเป็นตอกแล้วเอามาจักสาน มีลักษณะแบนกลม มีขอบสูงขึ้นมาเล็กน้อย เรียกว่า ขอบกระด้ง ขอบกระด้งทำด้วยไม้ไผ่ขดเป็นวงรี ถักติดกับลายสานด้วยหวาย มีหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ กระด้งนอกจากฝัดข้าวสารแล้ว ยังใช้ฝัดข้าวเปลือก หรือเมล็ดพันธุ์อย่างอื่นได้ด้วย จากข้อมูลข้างต้นคณะผู้จัดทำได้มีความคิดเห็นว่า การใช้สื่อคอมพิวเตอร์โดยการสร้างบล็อก (Blog) ขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักสานของคนในท้องถิ่น โดยคณะผู้จัดทำได้จัดทำบล็อก (Blog) เพื่อแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการจัดสรรเครื่องจักสานในแต่ละชุมชน การคิดค้นในแต่ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันออกไป คณะผู้จัดทำได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์เครื่องจักสานโดยเริ่มจากคณะผู้จัดที่ออกพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโครงงาน “การสืบสานเครื่องจักสานไทย” โดยใช้เว็บบล็อก (Blog) เป็นสื่อกลางในการจัดทำโครงงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่เครื่องจักสานของคนในชุมชนให้เป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น 
5. หลักการ ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    5.1 ความหมายของบล็อก (Blog)
    5.2 เอซทีเอ็มเอล (HTML)
    5.3 โดเมนเนม (Domain name)
    5.4 เวิลไวด์เว็บ (www.)
    5.5 การสร้างเครื่องจักสานจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางความต้องการด้านประโยขน์ใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์รวมถึงประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และวัสดุในท้องถิ่นนั้น ๆ ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องจักสานในรูปแบบและลวดลายต่าง ๆ
    5.6 หลักฐานเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานของมนุษย์นั้น ได้พบในหลายที่หลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานเครื่องจักสานขอองชาวอียิปต์โบราณ หรือหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานของมนุษย์ยุคหินในบริเวณแหลมมาลายู ซึ่งมีลักษณะเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "ล่วม" สานด้วยใบไม้ชนิดหนึ่ง กองรวมอยู่ในกลุ่มเครื่องใช้ของคนตาย แสดงให้เห็นว่าเครื่องจักสานได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อของมนุษย์นอกเหนือจากทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
6. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
    6.1 เพื่อจัดทำเว็บบล็อก “เรื่อง การสืบสานเครื่องจักสานไทย”
    6.2 เพื่ออนุรักษ์เครื่องจักสานของคนในท้องถิ่น
    6.3 เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน
7. ขอบเขตของโครงงาน
    7.1 ในบล็อก (Blog) มีเนื้อหาประกอบด้วย บทความในการอนุรักษ์เครื่องจักสานไทย รูปภาพในการออกพื้นที่จริง
    7.2 เวลาของการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
    7.3 แหล่งค้นหาข้อมูล คือ อินเทอร์เน็ต และข้อมูลจากผู้มีความรู้ในเรื่องเครื่องจักสาน
8. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
    8.1 อุปกรณ์การทำกระด้ง ไม้ไผ่ มีด เป็นต้น
    8.2 กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ สื่ออินเทอร์เน็ตและโปรแกรมใช้ www.blogger.com เพื่อใช้ในการสร้างบล็อก (Blog) ในการนำเสนอผลงาน
9. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน การดำเนินงาน วันที่/ระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ กำหนดหัวข้อโครงงาน
    14-15 พฤศจิกายน 2555 นางสาวอุดมพร กุมสิงห์ เสนอโครงร่างโครงงาน
    5-6 ธันวาคม 2555 นางสาวรัชตินันท์ คงชู ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
    14 มกราคม 2556 นางสาวสุภาวดี ชูลีรักษ์ วิเคราะห์ข้อมูล
    12-13 ธันวาคม 2555 นางสาวรัชตินันท์ คงชู ออกแบบเว็บไซต์
    2-3 มกราคม2556 นางสาวอุดมพร กุมสิงห์ พัฒนาเว็บไซต์
    16-17 มกราคม 2556 นางสาวสุภาวดี ชูลีรักษ์ ทดสอบและแก้ไขระบบ
    27-31 มกราคม 2556 นางสาวรัชตินันท์ คงชู นำเสนอโครงงาน
    14 กุมภาพันธ์ 2556 นางสาวอุดมพร กุมสิงห์ ประเมินผลโครงงาน
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    10.1ใช้บล็อก (Blog) เป็นสื่อกลางในการอนุรักษ์เครื่องจักสานไทย
    10.2 สามารถอนุรักษ์และเผยแพร่เครื่องจักสานได้ 10.3 ประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น